Bangkok Airways, British Airways Expand Codeshare for Seamless Southeast Asia Travel
Bangkok Airways and British Airways have expanded their codeshare partnership to provide seamless connections from London Gatwick Airport to popular destinations in Thailand and Southeast Asia serviced by Bangkok Airways.
British Airways resumed direct flights between London and Bangkok starting October 28, 2024, operating three flights per week. The frequency will increase to five flights weekly from Janurary to March 2025, offering travellers more flexibility and convenience.
Under the new codeshare agreement, British Airways will place its flight numbers on Bangkok Airways’ routes from Bangkok to Chiang Mai, Samui, Phuket, Phnom Penh (Cambodia), and Siem Reap (Cambodia). These routes will be in addition to the existing Singapore-Samui codeshare option.
The expanded codeshare partnership will offer British Airways passengers the convenient of seamless connecting flights to these destinations under a single booking, including through-checked baggage.
For more information, visit www.britishairways.com.
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และสายการบินบริติช แอร์เวย์ส ประกาศขยายความร่วมมือด้านเที่ยวบินร่วม (Codeshare Partnership) โดยการร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส ด้วยการเชื่อมต่อที่สะดวกสบายจากท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิคไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้บริการโดยบางกอกแอร์เวย์ส
สายการบินบริติช แอร์เวย์ส กลับมาให้บริการเที่ยวบินตรงระหว่างลอนดอนและกรุงเทพฯ อีกครั้ง เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยช่วงเริ่มต้นให้บริการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และเพิ่มเป็น 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2568 ภายใต้ข้อตกลงเที่ยวบินร่วมนี้ สายการบินบริติช แอร์เวย์ศ จะใช้รหัสเที่ยวบินร่วมบนเส้นทางของบางกอกแอร์เวย์ส ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-สมุย, กรุงเทพฯ-ภูเก็ต, กรุงเทพฯ-พนมเปญ (กัมพูชา), กรุงเทพฯ-เสียมเรียบ (กัมพูชา) นอกเหนือจากเส้นทางเที่ยวบินร่วมที่มีอยู่แล้วระหว่างสิงคโปร์-สมุย ทั้งนี้ ความร่วมมือด้านเที่ยวบินร่วมที่ขยายเพิ่มเติมจะช่วยให้ผู้โดยสารของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นในการเชื่อมต่อเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางเหล่านี้ภายใต้การจองครั้งเดียว รวมถึงการบริการเช็คสัมภาระไปยังจุดหมายปลายทาง
ผู้โดยสารสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.britishairways.com
เมื่อพูดถึงความยั่งยืน หรือ ESG ในปัจจุบันนี้คงไม่เป็นเพียงกระแสชั่วคราวของภาครัฐและเอกชน หรือเป็นแค่นโยบายองค์กรอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของทุกคนและองค์กรที่ต้องให้ความสำคัญ พร้อมนำมาปรับใช้ในทุกมิติของการดำเนินงาน โดยหากโฟกัสในภาคอุตสาหกรรมการบินโลก ทางองค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ “ICAO” ได้กำหนดโรดแมป “Fly Net Zero Carbon Emissions 2050” ไว้ ซึ่งหนึ่งในผู้ให้บริการจากภาคการบินในประเทศไทยอย่าง “สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส” ก็ให้ความสำคัญและดำเนินแนวทางนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ฉากทัศน์ภาคการบินกับนวัตกรรมเชื้อเพลิงยั่งยืน กุญแจแก้เกมปัญหาสิ่งแวดล้อม
จากกรณีศึกษาของ “บางกอกแอร์เวย์ส” สายการบินฟูลเซอร์วิสยอดเยี่ยมระดับภูมิภาค ได้นำร่องการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ SAF เมื่อช่วงไตรมาส 2 ของปี 2567 ในเที่ยวบิน สมุย-กรุงเทพฯ นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ CEO สายการบินสีฟ้าที่ปูพรมธุรกิจการบินสู่เส้นทางสีเขียวเล่าว่า ถือเป็นหนึ่งความท้าทายสำหรับภาคการบินทั่วโลก ในการวางแผนดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ITATA) เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Carbon Emissions 2050 สายการบินฯ จึงได้จัดตั้งแคมเปญ “Low Carbon Skies by Bangkok Airways” มุ่งหวังที่จะผลักดันการลดการปล่อย CO2 จากการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะในด้านการปฏิบัติการบินซึ่งได้ทดลองใช้น้ำมัน SAF ผสมกับ Jet A-1 (เชื่อเพลิงอากาศยานพาณิชย์) ในสัดส่วน 1% ตามแนวคิด “1% Better Everyday” ทั้งนี้ การนำน้ำมัน SAF มาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต ยังคงมีปัจจัยหลายด้านที่ต้องคำนึงถึงโดยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมการบินไทยให้ไปสู่จุดหมายระดับสากลได้ต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ บางกอกแอร์เวย์สยังมีการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มจิตอาสา “Blue Volunteers” ซึ่งเป็นผู้บริหารและพนักงานได้ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายท้องฟ้าโลว์คาร์บอนสานต่อแคมเปญ “Love Earth, Save Earth” ปลูกมะพร้าวเพื่อเกาะสมุยปีที่ 7 อีกทั้งในปี 2567 สายการบินฯ ยังได้รับรางวัล “Sustainable Forest Contributors Award” จากการเลือกใช้กระดาษทิชชูรักษ์โลกสำหรับการให้บริการบนเครื่องบินและในห้องรับรองผู้โดยสาร ซึ่งเทียบเท่าการลดใช้ไฟฟ้า 2,160,901 วัตต์/ปี หรือการลดการใช้น้ำมัน 8,168 ลิตร/ปี
อินไซด์การจัดการของเสียแบบไม่เสียเปล่า
บางกอกแอร์เวย์สบริหารจัดการของเสียโดยมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อลดปริมาณขยะสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์ หรือ “Zero Waste to Landfill” ตลอดจนการสร้างคุณค่าจากขยะเศษอาหารโดยนำมาผลิตเป็นปุ๋ย หรือเพิ่มอัตราการรีไซเคิล-อัพไซคลิ่งของเสียหรือของไม่ใช้แล้วจากการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์บนเครื่องบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่ “Circular Economy” ที่สามารถตอบโจทย์การลดใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ให้ “ใจ” เชื่อมโยงและใส่ใจชุมชนด้วยแนวคิด “Connect Your Happiness”
นายพุฒิพงศ์ ตอกย้ำถึงพันธกิจของสายการบินฯ ที่มุ่งมั่นให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคมไทยในหลากมิติ โดยเน้นว่า “หัวใจสำคัญของก้าวที่ยั่งยืน … คือการก้าวไปพร้อมกับชุมชน” ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายหลัก คือ ชุมชนรอบ 3 สนามบินภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ได้แก่ สมุย สุโขทัย และตราด โดยใช้แนวทางการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม (HolisticArea-Based) ที่คำนึงถึงด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ตามความเหมาะสมของบริบทพื้นที่ อาทิ โครงการ “ปันน้ำใจ สู่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดสุโขทัย มอบถุงยังชีพ มากกว่า 1,000 ชุด โครงการ “ส่งมอบความห่วงใย … จากใจสู่ชุมชน” มอบอุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 รวมถึงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้แข็งแกร่งและมีผลงานที่โดดเด่น เช่น “วิสาหกิจชุมชนหอยนางรมท่าโสม” ซึ่งได้รับรางวัลวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2567 จากสำนักเกษตรจังหวัดตราด
“สายการบินฯ ยังให้ความสำคัญและส่งเสริมความตระหนักเรื่อง “ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงานและผู้ปฏิบัติหน้าที่ ส่งผลอย่างยั่งยืนต่อการบริการผู้โดยสาร” และเข้าร่วมกิจกรรม “Zero Accident Campaign” โดยได้รับประกาศเกียรติคุณและการรับรองจากสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) สสปท.”
ความประณีตในคุณภาพผลิตภัณฑ์–บริการ ควบคู่ธรรมาภิบาลและจรรยาบรรณธุรกิจ
บางกอกแอร์เวย์สยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยการันตีจาก IATA Operational Safety Audit (IOSA) และได้รับประกันมาตรฐานด้านการจัดการระบบคุณภาพ ISO9001: 2015 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงรักษาระดับ CG Score โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย อย่างน้อยในระดับ “ดีมาก” อีกทั้งสามารถครองแชมป์โลก 8 ปีซ้อน กับสองรางวัลสกายแทร็กซ์ (Skytrax World Airline Awards) ที่ยกให้บางกอกแอร์เวย์สขึ้นแท่นเป็นอันดับ 1 สายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในโลกและสายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในเอเชีย และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นสายการบินที่ดีที่สุดในโลก อันดับที่ 27 Top 100 Airlines 2024
นายพุฒิพงศ์ เล่าต่อว่า ในปีนี้ บางกอกแอร์เวย์สได้รับมอบตราสัญลักษณ์ E-E-E (HygiEne, TravEl and ExperiEnce) ในฐานะพันธมิตรร่วมโครงการยั่งยืนนิยม (Sustainism) โดยความร่วมมือของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย และสภาพอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” โดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวและสุขอนามัยผ่านประสบการณ์ที่ส่งมอบความสุข ใส่ใจสังคม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาล ตามแนวทาง ESG Tourism Model อีกทั้งได้นำนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาการดำเนินงานเพื่อสร้างคุณค่า เช่น การเพิ่มช่องทางรับชำระเงิน “Pay by Link” และ “QR-Cross Bank” เน้นความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์และเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว การพัฒนาระบบ Auto Exchange & Refund เพื่อรองรับกรณีเที่ยวบินถูกยกเลิก ซึ่งลูกค้าสามารถเปลี่ยนเที่ยวบินหรือขอรับเงินคืนได้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์สายการบินฯ โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมอัตโนมัติ
สำหรับด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน สายการบินฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าที่ใส่ใจเรื่อง ESG โดยพัฒนาการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนใส่ใจการบริหารประสบการณ์ลูกค้าเพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ ทำให้ลูกค้าได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด จากการเลือกเดินทางไปถึงทุกจุดหมายปลายทางกับบางกอกแอร์เวย์ส นายพุฒิพงศ์ เล่าทิ้งท้าย